TH EN
banner
home ศูนย์ข้อมูล > บทความ > การดำเนินการเพื่อเข้าสู่ Qualified Intermediary Agreement ของ บริษัทหลักทรัพย์ไทย
การดำเนินการเพื่อเข้าสู่ Qualified Intermediary Agreement ของ บริษัทหลักทรัพย์ไทย

Highlight

  • ปัจจุบันนักลงทุนรายย่อยให้ความสนใจลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่างประเทศมากขึ้น โดยในช่วงไตรมาสแรกปี 2568 ยอดคงค้างเงินลงทุุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของนักลงทุุนไทย (กองทุุนรวม และผู้ลงทุุนรายย่อยที่่ลงทุุนผ่านตัวแทนในประเทศ) ปรับตัวเพิ่่มขึ้้นร้อยละ 12 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • จากแนวโน้มการเติบโตการลงทุนของนักลงทุนไทย โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐฯ ที่เติบโตก้าวกระโดดนั้น มีประเด็นด้านภาษีที่นักลงทุนต้องพิจารณาเป็นพิเศษ เนื่องด้วยทางสหรัฐฯ กำหนดให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย  สำหรับรายได้จากการลงทุนของชาวต่างชาติอยู่ที่ร้อยละ 30
  • ทั้งนี้ IRS ได้จัดตั้งระบบ QI ซึ่งช่วยให้สถาบันการเงินต่างประเทศสามารถหักภาษีในอัตราที่ลดลงตาม DTA ได้โดยไม่ต้องเปิดเผยชื่อผู้รับรายได้ในบางกรณี พร้อมทั้งลดความเสี่ยงด้านภาษีและสร้างความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมกับลูกค้าต่างชาติ
  • อย่างไรก็ตามปัจจุบัน สถาบันการเงินไทยยังไม่มีสถานะ QI ทำให้ บล. หรือนักลงทุนอาจมีขั้นตอนซับซ้อนในการขอสิทธิประโยชน์ทางภาษีตาม DTA ทั้งนี้หากในอนาคตสถาบันการเงินไทยมีสถานะ QI จะช่วยลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน เพิ่มความคล่องตัว และคุ้มครองข้อมูลนักลงทุน
  • การที่ บล. ไทยจะยื่นสมัครเพื่อให้มีสถานะ QI นั้น กฎเกณฑ์ด้าน KYC ของประเทศจะต้องได้รับการรับรองจาก IRS โดยปัจจุบันสมาคม ร่วมกับ ViewTrade และ TConsult อยู่ระหว่างดำเนินการยื่นขอให้ IRS รับรอง KYC ของไทยเพื่อเข้าสู่ IRS’s approved KYC Attachment List เพื่อเปิดโอกาสให้ บล.ไทยสามารถยื่นสมัคร QI Agreement ได้ในอนาคต

           อ่านเนื้อหาฉบับเต็มกด ดาวน์โหลด

TOP