Introduction to Common Reporting Standard (CRS)
Highlight
• ในปี 2560 ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกกรอบความร่วมมือเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีหรือ Global Forum ของ OECD ซึ่งจะต้องมีการยกระดับการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามร้องขอ (EOIR) และดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอัตโนมัติ (AEOI) รายปี ตามที่ OECD กำหนดด้วย
• การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินแบบอัตโนมัติตามมาตรฐานที่ OECD กำหนดเรียกว่า Common Reporting Standard (CRS) เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินของผู้ไม่มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในประเทศไทยให้กับประเทศคู่สัญญาเป็นประจำรายปี โดยประเทศไทยได้กำหนดจะเริ่มแลกเปลี่ยนข้อมูลครั้งแรกภายในเดือนกันยายน 2566
• CRS มีความแตกต่างกับ FATCA หลายประเด็น ซึ่งหลักสำคัญได้แก่ การที่ CRS จะพิจารณาถิ่นที่อยู่ทางภาษี ขณะที่ FATCA จะพิจารณาสัญชาติว่าผู้ถือบัญชีมีสัญชาติ US หรือไม่ควบคู่ไปกับถิ่นที่อยู่ทางภาษีด้วย
• สำหรับความคืบหมายของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ CRS ในประเทศไทยนั้น จุดสนใจในปัจจุบันคงอยู่ที่ร่างพ.ร.บ.การแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ....(ร่างพ.ร.บ.การแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ)ที่อยู่ในชั้นของคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา
• ในมุมผลกระทบต่อบริษัทหลักทรัพย์(บล.)นั้น บล.ถือเป็นสถาบันการเงินผู้ที่มีหน้าที่ต้องรายงาน ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำ due diligence ลูกค้าและรายงานข้อมูลตามที่กำหนดเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ บล.จะต้องเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ขั้นตอนและระบบงานเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามกฎหมายที่กำลังจะออกมาใหม่นี้ได้
สำหรับข้อมูลฉบับเต็ม click
|