Highlight
- การให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ผ่านบัญชีมาร์จิ้น (margin) เป็นการให้บริการทางธุรกิจอันเป็นปกติทั่วไปของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ในปัจจุบัน ทั้งนี้ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ พ.ศ.2535 กำหนดให้ บล. สามารถให้กู้ยืมเงินได้เฉพาะวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์เท่านั้น
- ขณะที่หลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อนุญาต บล. สามารถให้ลูกค้ากู้ยืมเงินโดยมีหลักทรัพย์เป็นหลักประกันเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ นอกเหนือจากการนำไปซื้อหลักทรัพย์ได้ โดยยกตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา จะเรียกว่า Non-purpose Loan ซึ่งมีกลไกการบริหารจัดการ/การติดตาม/การบังคับหลักประกัน ทำนองเดียวกับ margin loan
- อย่างไรก็ตาม แม้ว่า Non-purpose Loan จะมีประโยชน์ต่อลูกค้าในการเป็นแหล่งเงินทุนที่เข้าถึงง่ายโดยไม่ต้องขายหลักทรัพย์ที่มีอยู่ในพอร์ตออกซึ่งจะทำให้เสียโอกาสจากการลงทุน ในมุมบล. ที่เป็นการช่วยเพิ่มรายได้ ต่อยอดจากธุรกิจหลักและการมีหลักทรัพย์ที่มีคุณภาพเป็นหลักประกันยังช่วยลดความเสี่ยงในการปล่อยกู้ แต่ก็มีความเสี่ยงที่ลูกค้าต้องคำนึงถึงหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ลูกค้าอาจเผชิญความเสี่ยงจากการโดนบังคับขายได้ (force liquidation)
- สมาคมฯ ได้มีหารือกับในประเด็นดังกล่าวกับสำนักงาน ก.ล.ต.เป็นระยะๆ เพื่อให้พิจารณาอนุญาตให้ บล. สามารถให้กู้ยืมแก่ลูกค้าโดยมีหลักทรัพย์เป็นหลักประกันเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ได้ อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวจะต้องมีการหารือกับอีกหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารแห่งประเทศ และกระทรวงการคลัง ซึ่งสมาคมฯ ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานในเรื่องดังกล่าวเพื่อเตรียมข้อมูลและกลับไปหารือหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อผลักดันให้ธุรกิจดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคตต่อไป
อ่านเนื้อหาฉบับเต็มกด ดาวน์โหลด