ชมรม
ข้อบังคับชมรม
หมวดที่ 1 : บททั่วไป
หมวดที่ 2 : วัตถุประสงค์ของชมรม
หมวดที่ 3 : สมาชิกและสมาชิกภาพ หมวดที่ 4 : ค่าบำรุงชมรม
หมวดที่ 5 : สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก หมวดที่ 6 : การประชุมสมาชิก
หมวดที่ 7 : คณะกรรมการชมรมและการบริหารชมรม หมวดที่ 8 : การเงินและบัญชี
หมวดที่ 9 : การแก้ไขข้อบังคับชมรม และการเลิกชมรม
หมวดที่ 3 : สมาชิกและสมาชิกภาพ หมวดที่ 4 : ค่าบำรุงชมรม
หมวดที่ 5 : สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก หมวดที่ 6 : การประชุมสมาชิก
หมวดที่ 7 : คณะกรรมการชมรมและการบริหารชมรม หมวดที่ 8 : การเงินและบัญชี
หมวดที่ 9 : การแก้ไขข้อบังคับชมรม และการเลิกชมรม
หมวดที่ 1 : บททั่วไป
ข้อ 1. ชมรมนี้มีชื่อว่า "ชมรมผู้ดูแลการปฏิบัติงานด้านหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย"
มีชื่อภาษาอังกฤษว่า "Compliance Club"
- คำว่า "ชมรม" ต่อไปในข้อบังคับนี้ให้หมายถึง "ชมรมผู้ดูแลการปฏิบัติงานด้านหลักทรัพย์"
- คำว่า "คณะกรรมการ" ต่อไปในข้อบังคับนี้ให้หมายถึง "คณะกรรมการของชมรมผู้ดูแลการปฏิบัติงานด้านหลักทรัพย์"
- คำว่า "กรรมการ" ต่อไปในข้อบังคับนี้ให้หมายถึง "กรรมการของชมรมผู้ดูแลการปฏิบัติงานด้านหลักทรัพย์"
ข้อ 2. สำนักงานของชมรมตั้งอยู่ ณ ที่ทำการของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย
ข้อ 3. ในกรณีที่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยหรือตีความเกี่ยวกับข้อบังคับนี้หรือการดำเนินการของชมรม ให้คณะกรรมการเป็นผู้วินิจฉัยหรือตีความแล้วแต่กรณี
หมวดที่ 2 : วัตถุประสงค์ของชมรม
ข้อ 4. วัตถุประสงค์ของชมรมมีดังต่อไปนี้
4.1 เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่การเป็นผู้ดูแลการปฏิบัติงานของสมาชิกให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจ
อื่นใดที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4.2 เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ประสบการณ์และวิธีการเกี่ยวกับงานดูแลการปฏิบัติงานระหว่างสมาชิก
4.3 เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทักษะความรู้ เทคนิคและวิธีการใหม่ ๆ ของงานการดูแลการปฏิบัติงานของสมาชิกให้สอดคล้องกับการ
ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
4.4 เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารและประสานความร่วมมือกันระหว่างสมาชิกในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน
4.5 เป็นตัวแทนของสมาชิก ในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เช่น สำนักงาน
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
4.6 เพื่อเผยแพร่การศึกษา วิจัย กิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการดูแลการปฏิบัติงานให้แก่สมาชิกและผู้ที่สนใจ
หมวดที่ 3 : สมาชิกและสมาชิกภาพ
ข้อ 5.สมาชิกของชมรม ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บริษัทหรือสถาบันการเงินที่มีใบ
อนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ทุกประเภท หรือที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์ หรือธุรกิจสัญญาซื้อขาย
ล่วงหน้า(ต่อไปนี้จะเรียกว่า "สมาชิก")
ข้อ 6. บริษัทที่มีคุณสมบัติตามข้อ 5. ซึ่งมีความประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของชมรม ให้ยื่นใบสมัครต่อเลขาธิการชมรมตามวิธีการที่ชมรม
กำหนดโดยสมัครเข้าเป็นสมาชิกในนามสถาบัน และอาจส่งผู้แทนได้ไม่เกิน 3 คน โดยผู้แทนของบริษัทจะต้องเป็นผู้มีหน้าที่
ความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ดูแลการปฏิบัติงานของสมาชิก (Compliance Function) ผู้ตรวจสอบภายใน(Internal Audit - Function)
หรือผู้มีประสบการณ์ที่ใกล้เคียง
ข้อ 7. สมาชิกภาพเริ่มตั้งแต่วันที่ผู้สมัครได้ชำระค่าบำรุงเรียบร้อยแล้ว
ข้อ 8. สมาชิกย่อมขาดจากสมาชิกภาพในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
8.1 สมาชิกแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรขอลาออกจากชมรม
8.2 สมาชิกไม่ชำระค่าบำรุงรายปี และคณะกรรมการมีมติให้พ้นจากการเป็นสมาชิก
8.3 ที่ประชุมสมาชิกมีมติให้ถอนชื่อจากทะเบียนสมาชิกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกที่มาประชุม
8.4 คณะกรรมการมีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพโดยจะดำเนินการตามขั้นตอนที่คณะกรรมการมีมติกำหนด
ข้อ 8/1 สมาชิกสมทบของชมรม ได้แก่ บริษัทจดทะเบียน หน่วยงาน องค์กร หรือนิติบุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ หลักทรัพย์
(ต่อไปนี้จะเรียกว่า "สมาชิกสมทบ" )
ให้นำความในข้อ 6-8 มาใช้บังคับแก่สมาชิกสมทบโดยอนุโลม
หมวดที่ 4 : ค่าบำรุงชมรม
ข้อ 9. สมาชิกต้องชำระค่าบำรุงรายปีภายในเดือนมกราคมของทุกปี หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด ในอัตราดังต่อไปนี้
9.1 ค่าลงทะเบียนสมาชิกแรกเข้าเป็นเงินจำนวน 10,000 บาท ทั้งนี้ ให้ยกเว้นค่าลงทะเบียนสมาชิกแรกเข้าสำหรับบริษัทที่เป็นสมาชิกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย และสมาชิกจะต้องชำระค่าบำรุงรายปีตามปีปฏิทินในอัตราที่คณะกรรมการชมรมกำหนดแต่ไม่เกินปีละ 20,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับบริษัทที่มีผู้แทน 1 คน
9.2 ค่าบำรุงส่วนเพิ่มสำหรับผู้แทนคนที่ 2 หรือ 3 ปีละ 2,000 บาทต่อคน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ในปีแรกของการก่อตั้งชมรมหรือของการสมัครให้ชำระค่าสมาชิกภายในเวลา 60 วันนับจากวันสมัครหรือวันแต่งตั้งผู้แทน
หมวดที่ 5 : สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
ข้อ 10. สมาชิกมีสิทธิดังนี้
10.1 แสดงความคิดเห็น และออกเสียงลงคะแนน
10.2 พิจารณาส่งผู้แทนเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการ
10.3 ได้รับประโยชน์จากการดำเนินกิจการของชมรม
ข้อ 10/1 สมาชิกสมทบมีสิทธิได้รับประโยชน์จากการดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของชมรม
ข้อ 11. สมาชิกและสมาชิกสมทบมีหน้าที่ดังนี้
11.1 ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และจรรยาบรรณของชมรม
11.2 ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมของชมรม
หมวดที่ 6 : การประชุมสมาชิก
ข้อ 12. ให้คณะกรรมการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ภายใน 3 เดือน นับแต่วันครบรอบระยะเวลาบัญชีของชมรม การประชุม
สมาชิกคราวอื่นให้เรียกว่าประชุมวิสามัญ ซึ่งคณะกรรมการหรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจะร้องขอ
ให้คณะกรรมการจัดประชุมเมื่อใดก็ได้ โดยแจ้งเหตุร้องขอประชุมเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังเลขานุการคณะกรรมการ
โดยอาจจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด ตามเงื่อนไข ขั้นตอน ที่กฎหมายกำหนด
ข้อ 13. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด (ไม่รวมสมาชิกสมทบ) จึงจะครบ
เป็นองค์ประชุม หากเวลาผ่านพ้นไป 1 ชั่วโมง สมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุม ให้เลื่อนการประชุมไปคราวหน้า และให้คณะกรรมการ
เรียกประชุมใหม่ การประชุมครั้งหลังนี้แม้สมาชิกไม่ครบเป็นองค์ประชุมก็ให้ดำเนินการประชุมไปได้
ข้อ 14. การประชุมวิสามัญต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด (ไม่รวมสมาชิกสมทบ) จึงจะครบเป็นองค์
ประชุม หากเวลาผ่านพ้นไป 1 ชั่วโมง สมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุมก็ให้เลื่อนการประชุมไปคราวหน้าและให้คณะกรรมการเรียกประชุม
ใหม่ การประชุมครั้งหลังนี้ แม้มีสมาชิกไม่ครบเป็นองค์ประชุมก็ให้ดำเนินการประชุมไปได้ เว้นแต่ในกรณีของการประชุมวิสามัญที่
สมาชิกร้องขอให้คณะกรรมการจัดประชุมนั้น หากสมาชิกไม่ครบเป็นองค์ประชุมก็ให้ยกเลิกการประชุมนั้นเสีย
ข้อ 15. การบอกกล่าวประชุมสมาชิก ให้แจ้งแก่สมาชิกล่วงหน้าก่อนการประชุมไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ โดยทางจดหมายนำส่ง จดหมาย
อิเลคทรอนิกส์หรือโทรสาร พร้อมทั้งแจ้งรายละเอียด วัน เวลา สถานที่ และวาระการประชุม
ข้อ 16. ให้ประธานคณะกรรมการเป็นประธานในที่ประชุมสมาชิก
ถ้าประธานคณะกรรมการไม่มาประชุมให้รองประธานคณะกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม
ถ้าประธานคณะกรรมการและรองประธานคณะกรรมการไม่มาประชุมให้สมาชิกเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่แทน
ข้อ 17. ให้ที่ประชุมถือคะแนนเสียงข้างมากในที่ประชุมเป็นเกณฑ์ โดยสมาชิกแต่ละรายมีคะแนนเสียงรายละหนึ่งเสียง ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้
ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด ยกเว้นกรณีที่กำหนดไว้เฉพาะในหมวดที่ 9 เรื่อง "การแก้ไขข้อบังคับชมรมและการเลิกชมรม"
ข้อ 17/1 สมาชิกสมทบมีสิทธิเข้าร่วมประชุมสมาชิกได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
หมวดที่ 7 : คณะกรรมการชมรมและการบริหารชมรม
ข้อ 18.การเลือกตั้งและแต่งตั้งคณะกรรมการของชมรม
18.1 ให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งมีจำนวนไม่เกิน 16 คน ประกอบด้วยกรรมการจากบริษัทสมาชิกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยไม่เกิน 10 คน
และกรรมการจากบริษัทอื่น ๆ ไม่เกิน 5 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของที่ประชุมสมาชิก และ/หรือ การแต่งตั้งโดยคณะกรรมการ ตามข้อ 27
และกรรมการอีก 1 คน คือ เลขาธิการสมาคม เป็นกรรมการและเลขาธิการชมรมโดยตำแหน่ง
18.2 การเลือกตั้งกรรมการให้กระทำโดยสมาชิกเลือกตั้งจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกตั้ง
18.3 ในการเลือกตั้งกรรมการ ให้ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงตามลำดับได้เป็นกรรมการไม่เกินจำนวนที่ระบุไว้ในข้อ 18.1 ถ้ามีผู้ที่ได้คะแนน
เท่ากันในลำดับสุดท้ายที่จะได้เป็นกรรมการคราวนั้นให้ที่ประชุมใหญ่ลงมติใหม่เฉพาะผู้ที่ได้คะแนนเท่ากัน หากปรากฏว่า
คะแนนเท่ากันอีกให้ใช้วิธีจับสลาก
18.4 บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกตั้ง ประกอบด้วยรายชื่อของบุคคลที่เสนอโดยสมาชิกให้เป็นผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งในตำแหน่งกรรมการชมรม
18.5 ผู้ที่มีสิทธิเป็นกรรมการจะต้องเป็นผู้แทนของสมาชิกและมีตำแหน่งเป็นผู้บริหารในหน่วยงาน Compliance หรือ หน่วยงาน Internal Audit
หรือ ผู้บริหารที่ควบคุมดูแลหน่วยงาน Compliance และ/หรือ หน่วยงาน Internal Audit อย่างเป็นทางการ
18.6 การเสนอรายชื่อบุคคลผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นกรรมการให้เสนอต่อกรรมการและเลขาธิการชมรมก่อนวันประชุมใหญ่ของชมรม
ไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน และให้กรรมการและเลขาธิการชมรมส่งบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งไปยังสมาชิกล่วงหน้าก่อนวันประชุมใหญ่
ของชมรมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
18.7 ให้บรรดากรรมการเลือกตั้งกันเองเพื่อดำรงตำแหน่งประธาน รองประธาน เหรัญญิก และตำแหน่งอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรกำหนดให้มี
18.8 คณะกรรมการดำรงตำแหน่งคราวละไม่เกิน 3 ปี ในการประชุมสมาชิกสามัญประจำปี กรรมการต้องออกจากตำแหน่งจำนวนหนึ่งในสาม
ถ้าจำนวนกรรมการจะแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุดกับส่วนหนึ่งในสาม ให้กรรมการคนที่อยู่ในตำแหน่ง
นานที่สุดเป็นผู้ออกจากตำแหน่ง กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับเลือกตั้งได้อีก
18.9 ความในข้อ 18.2, 18.3, และ 18.8 มิให้นำมาใช้บังคับแก่เลขาธิการสมาคม ซึ่งเป็นกรรมการและเลขาธิการของชมรม
โดยตำแหน่ง
ข้อ 19. ให้มีคณะที่ปรึกษาคณะกรรมการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 8 ท่าน โดยมีวาระคราวละ 1 ปี นับจากวันแต่งตั้ง
ข้อ 20. ให้เชิญผู้แทนจากหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์และศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้าซึ่งจัดตั้ง
ขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการหรือที่ปรึกษาในฝ่ายงานต่าง ๆ ของชมรมตาม
ที่คณะกรรมการเห็นสมควร
ข้อ 21. ให้คณะกรรมการจากการเลือกตั้งของสมาชิกชมรมแจ้งรายชื่อกรรมการให้สมาชิกทั้งหมดทราบ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่การเลือกตั้ง
เสร็จสิ้นสมบูรณ์
ข้อ 22. การเลือกตั้งกรรมการโดยสมาชิกในที่ประชุมสมาชิกจะกระทำโดยวิธีเปิดเผย หรือ วิธีอื่นก็ได้ ทั้งนี้ แล้วแต่ที่ประชุมใหญ่สมาชิกจะกำหนด
ข้อ 23. ให้คณะกรรมการชมรมร่วมกันกำหนดและมอบหมายความรับผิดชอบในงานด้านต่าง ๆ ของชมรมภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้จัดตั้ง
คณะกรรมการชมรมเสร็จสิ้นสมบูรณ์
ข้อ 24. อำนาจและหน้าที่ของประธานคณะกรรมการและกรรมการ
24.1 กำหนดทิศทางและนโยบายของชมรม
24.2 บริหารกิจการของชมรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
24.3 แต่งตั้งที่ปรึกษาของชมรมและคณะอนุกรรมการ
24.4 แต่งตั้งคณะทำงานในเรื่องต่าง ๆ จากสมาชิกหรือบุคคลอื่นที่คณะกรรมการเห็นสมควร
24.5 ให้ประธานคณะกรรมการเป็นผู้แทนของชมรมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกและเป็นประธานในที่ประชุมของคณะกรรมการ
ชมรมและในที่ประชุมสมาชิก
24.6 ให้กรรมการและเลขาธิการชมรมมีหน้าที่ช่วยเหลือประธานในกิจการทั้งปวงอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของประธาน เป็นผู้ปฏิบัติ
การแทนประธานในขณะที่ประธานไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้หรือตามที่ประธานจะมอบหมายและมีหน้าที่บริหาร
งานเอกสารที่เกี่ยวกับการประชุม
24.7 ให้ประธานคณะกรรมการประสานงานกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ในการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของสมาคมบริษัท
หลักทรัพย์ทำหน้าที่รักษาและจดบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงิน ทรัพย์สิน รายรับ-รายจ่ายของชมรม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่เป็น
นายทะเบียนสมาชิก และหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
ข้อ 25. การประชุมคณะกรรมการ
25.1 ให้มีการประชุมคณะกรรมการตามที่ประธานคณะกรรมการจะเห็นสมควร หรือเมื่อกรรมการอย่างน้อย 4 คน เข้าชื่อกันเรียกประชุม
แต่อย่างน้อยจะต้องมีการประชุมทุก 3 เดือน โดยอาจจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด ตามเงื่อนไข ขั้นตอน ที่กฎหมายกำหนด
25.2 ในการประชุมคณะกรรมการทุกครั้งต้องมีกรรมการมาร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะครบองค์ประชุม
25.3 ให้ประธานคณะกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานคณะกรรมการไม่มาประชุมให้รองประธานคณะกรรมการเป็นประธาน
ในที่ประชุมถ้าประธานคณะกรรมการและรองประธานคณะกรรมการไม่มาประชุม ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่ง
ทำหน้าที่แทน
25.4 มติของที่ประชุมคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมากของจำนวนกรรมการที่มาประชุมเป็นเกณฑ์ในกรณีที่เสียงเท่ากันให้ประธาน
ที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
25.5 ให้ประธานคณะกรรมการหรือผู้ที่ประธานคณะกรรมการมอบหมาย รายงานผลการดำเนินงานของชมรมต่อคณะกรรมการสมาคม
บริษัทหลักทรัพย์ทุก 3 เดือน
25.6 คณะกรรมการอาจลงมติเวียนโดยไม่ต้องจัดประชุมในกรณีจำเป็น หากกรรมการส่วนใหญ่อนุมัติการกระทำเช่นนั้น โดยให้กรรมการ
แต่ละคนลงมติ และส่งมติทางอิเลคทรอนิกส์มายังชมรม และการลงมติเวียนดังกล่าวจะผูกพัน และมีผลบังคับใช้ในวันที่ได้รับมติจาก
กรรมการไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการ โดยให้ชมรมเก็บหลักฐานการลงมติ และให้นำเสนอคณะกรรมการเพื่อทราบในวันประชุม
กรรมการครั้งถัดจากการลงมติเวียนมีผลบังคับใช้
25.7 หากกรณีจำเป็นกรรมการอาจมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าร่วมประชุมและออกเสียงแทนได้ ในการมอบฉันดังกล่าวให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร
โดยอย่างน้อยจะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมเองโดยมิได้มอบฉันทะเป็นจำนวน 5 คน จึงจะถือว่าการประชุมดังกล่าว
มีกรรมการเข้าร่วมประชุมครบองค์ประชุม
ข้อ 26. การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ
26.1 ถึงแก่กรรม
26.2 ถึงคราวออกตามวาระ
26.3 ลาออก
26.4 ออกจากบริษัทสมาชิกหรือพ้นสภาพการเป็นผู้แทนของบริษัทสมาชิก
26.5 บริษัทขาดจากสมาชิกภาพ
26.6 ที่ประชุมสมาชิกมีมติให้ถอดถอนด้วยคะแนนเสียง 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกที่มาประชุม
ข้อ 27.ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง เนื่องจากกรณีตามข้อ 26.2 หรือ 26.6 และวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการท่านนั้นเหลืออยู่เกิน
กว่า 90 วัน ให้ที่ประชุมสมาชิกเลือกตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการนั้นว่างลง ตามวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อ18.
ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง เนื่องจากกรณีตามข้อ 26.1, 26.3, 26.4 และ 26.5 คณะกรรมการอาจแต่งตั้งกรรมการเข้าดำรงตำแหน่งได้
โดยให้พิจารณาภายใน 60 วันนับแต่วันที่ตำแหน่ง กรรมการนั้นว่างลง ทั้งนี้ กรรมการใหม่ดังกล่าวในข้อ 27 นี้ จะต้องมีคุณสมบัติตามข้อ18.5
และมีวาระการดำรงตำแหน่งได้เท่ากับกรรมการที่ตนเข้ามาแทนพึงมี
หมวดที่ 8 : การเงินและบัญชี
ข้อ 28. การเงินของชมรมให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ หรือบุคคลที่คณะกรรมการมอบหมาย โดยงาน "เลขานุการคณะกรรมการ
เหรัญญิก และ ทะเบียนสมาชิก” จะได้รับการสนับสนุนด้านบุคลากรจากสมาคมบริษัทหลักทรัพย์
ข้อ 29. รายได้ของชมรมเกิดจากการเก็บค่าบำรุงรายปี จากสมาชิกและสมาชิกสมทบ รายได้จากการจัดกิจกรรมหรือรายได้จากการจำหน่าย
เอกสารทางวิชาการของชมรม
ข้อ 30. ให้คณะกรรมการพิจารณานำเงินของชมรมฝากไว้ ณ สถาบันการเงินที่คณะกรรมการชมรมเห็นสมควร โดยแยกออกต่างหากจากบัญชีอื่นๆ
ของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ การเบิกจ่ายเงินจากบัญชีเงินฝากของชมรมทุกครั้งต้องมีหลักฐานการอนุมัติโดยการลงลายมือชื่อของกรรมการ
ชมรม อย่างน้อย 2 คนร่วมกัน
ข้อ 31. เหรัญญิกของคณะกรรมการอาจเก็บรักษาเงินสดย่อยเพื่อการทดรองจ่ายได้ครั้งละไม่เกิน 10,000- บาท และการเบิกจ่ายเงินจากเงินสด
ย่อยทุกครั้งต้องมีเอกสารหลักฐานครบถ้วนสมบูรณ์
ข้อ 32. ให้คณะกรรมการใช้จ่ายเงินของชมรมได้ตามความจำเป็นเพื่อบริหารงานของชมรม และกิจกรรมของชมรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ข้อ 33. รอบปีบัญชีของชมรมเริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี ให้ผู้ตรวจสอบบัญชีของสมาคมทำการตรวจสอบ
บัญชีรายรับ-รายจ่าย และงบดุลของชมรมแล้วนำเสนอต่อที่ประชุมสมาชิกในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี
หมวดที่ 9 : การแก้ไขข้อบังคับชมรม และการเลิกชมรม
ข้อ 34. ข้อบังคับของชมรมจะสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ด้วยมติของที่ประชุมสมาชิก ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิก
ที่มาประชุม
ข้อ 35. ชมรมจะเลิกได้ด้วยมติของที่ประชุมสมาชิก ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของสมาชิกทั้งหมด (ไม่รวมสมาชิกสมทบ)